ใครว่าเรื่องสายตาเสื่อมเป็นเรื่องอายุเท่านั้น
สมาร์ทโฟน-แท็บเล็ต ปัญหาใหญ่ของคนรุ่นใหม่
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมีผลต่อสายตาและการมองเห็นของเด็กๆ และวัยทำงานอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยส่วนหนึ่งของปัญหาที่พบ ได้แก่
- จำนวนคนรุ่นใหม่ที่สายตาสั้นมีมากขึ้น ปัจจุบันพบว่าเด็กรุ่นใหม่ในไทยที่อายุต่ำกว่า 15 ปีสายตาสั้นถึงร้อยละ 30*
- คนรุ่นใหม่สายตาสั้นตั้งแต่อายุน้อยๆ และสั้นเพิ่มเร็วขึ้นมากในแต่ละปี
- เกิดภาวะสายตาสั้นเทียมซึ่งเกิดจากการใช้สายตาเพ่งดูใกล้จอมากจนเกินไป
- คนรุ่นใหม่มีอาการแพ้แสง คือตาแห้ง ตาแดงก่ำ มีน้ำตาไหล สู้แสงไม่ได้
ข้อแนะนำสำหรับปัญหานี้คือ ไม่ควรปล่อยใช้เวลาอยู่หน้าจอนานเกินไปแต่ควรจำกัดเวลาใช้เท่าที่จำเป็น เช่น 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง แล้วให้หยุด รวมถึงไม่ควรให้ใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กเกินไปหรือใช้ในที่แสงน้อยเพราะจะต้องเพ่งมากอาจทำให้เกิดอาการตาแห้งและอักเสบตามมาได้
* ข้อมูลจากสำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข
การทำงานของตา(ทั่วไป)
สารอาหารที่จำเป็นสำหรับสุขภาพดวงตา
ความเสื่อมของดวงตาเกิดจากรังสี 2 ชนิด คือสีม่วง หรือ ยูวี (UV ray) และสีฟ้า (blue ray) ซึ่งมีอยู่ในแสงแดด และจากการใข้คอมพิวเตอร์ ดูโทรทัศน์ และได้รับแสงสว่างจากหลอดไฟ แสงสีฟ้าอยู่ในช่วงแสงที่ตามองเห็นได้ เป็นองค์ประกอบ 25-30% ในแสงแดด มีความยาวคลื่น 415- 455 nm มีอันตรายต่อจอตา เพราะแสงสีฟ้ามีพลังงานสูงพอที่จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระภายในลูกตา ทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมและโรคต้อกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ตาบอดได้ในที่สุด
ความเสื่อมของดวงตาเป็นสาเหตุให้เกิดโรคตายอดฮิต 3 อันดับ
- โรคต้อกระจก (Cataract) คือสภาวะที่เลนส์ตาเกิดอาการขุ่นมัวขึ้น ความสามารถในการมองเห็นในที่สลัวหรือกลางคืนลดลง อาจเห็นแสงกระจายจากดวงไฟในที่มืด
- โรคจอตาเสื่อม (Age-related macular degeneration, AMD) เป็นโรคที่เกิดขึ้นที่บริเวณเนื้อเยื่อรับภาพของจอตา ทำให้เกิดจุดบอดขึ้นตรงใจกลางของภาพ การมองเห็นโดยรวมลดลง
- โรควุ้นตาเสื่อม (Vitreous degeneration) เกิดจากวุ้นตาเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวมากขึ้น เมื่อมีอายุมากขึ้น เส้นใยโปรตีนในวุ้นตาเกิดการตกตะกอนลักษณะคล้ายลิ่ม เส้นใยที่หนาขึ้นทำให้เกิดเงาตกกระทบบนจอตาทำให้ผู้ที่มีวุ้นตาเสื่อมเห็นเป็นเส้นเป็นขีดลอยไปมา เงานี้ขยับได้เล็กน้อยเมื่อมีการกลอกตา ประเทศไทยมีคนเป็นโรควุ้นตาเสื่อมถึง 14 ล้านคน จากการใช้สายตามากเกินไป ใช้งานคอมพิวเตอร์ โนตบุค หรือสมาร์ทโฟนอย่างต่อเนื่องนานเกินไป
ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin)
ลูทีนและซีแซนทีนเป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ (สารสีเหลือง) พบได้ในบริเวณดวงตา โดยเฉพาะตรงบริเวณเลนส์ตาและจอรับภาพตาซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดในจอประสาทตา จะช่วยดูดซับแสงสีฟ้าก่อนที่จะส่งผลเสียหรือทำลายจอประสาทตา ป้องกันการเสื่อมสภาพของจอประสาทตา จึงมีความสำคัญต่อดวงตาเป็นอย่างมาก
ในธรรมชาติแม้จะมีแคโรทีนอยด์ มากกว่า 600 ชนิด แต่มีเพียงสาร 2 ชนิดนี้เท่านั้น ที่พบในจุดรับภาพของจอตา สารทั้งสองชนิดนี้จะทำหน้าที่ช่วยกรองหรือป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็น อันตรายต่อดวงตา และช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลาย โดยการลดอนุมูลอิสระดังนั้น จึงทำหน้าที่บำรุงตา ทำให้จอตาไม่เสื่อมเร็ว เพราะฉะนั้นใครที่อยากถนอมสายตาไว้ ใช้งานนานๆ ก็ต้องทานผักผลไม้ สีเหลือง และสีเขียวเข้ม
จาก การศึกษาทางระบาดวิทยาพบหลักฐานว่าลูทีนและซีแซนทีนช่วยลดโรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-related macular degeneration: AMD) สำนักงานอาหารและยาสหรัฐอเมริกาให้การรับรองผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลูทีนและซีแซนทีนในการลดความเสี่ยงของการเกิดความเสื่อมของตาอันมีสาเหตุมาจากใช้สายตาที่มากขึ้นการศึกษาโดยใช้เวลา 6 ปีของสถาบันดวงตาแห่งชาติพบว่าลูทีนและซีแซนทีนช่วยป้องกันการตาบอดจากความเสื่อม การศึกษาของโครงการสารอาหารและการมองเห็นซึ่งใช้เวลาถึง 15 ปีพบว่าการรับประทานลูทีนและซีแซนทีนขนาด 2.4 มิลลิกรัมขึ้นไปจากอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะช่วยลดต้อสีเหลืองที่เลนส์ตา
นอกจากลูทีนและซีแซนทีนจะมีคุณสมบัติในการช่วยชะลอความเสื่อมของเรติน่าหรือจอประสาทตาและเลนส์ตาแล้วยังทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นช่วยต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากและป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: คู่มืออาหารเสริม, ดร.เริงฤทธิ์สัปปพันธ์
สารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อสุขภาพดวงตา
เบตาแคโรทีนช่วยในการสร้างเม็ดสี Rhodopsin ของ Rod Cell เพื่อให้สามารถมองเห็นในตอนกลางคืนได้ดี ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ตา และลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อกระจก
วิตามินซีช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา เช่น ต้อหิน ต้อกระจก ตาบอดเฉียบพลัน วิตามินซี สามารถช่วยปกป้องเลนส์ตาจากอันตรายต่างๆ เช่น ควันบุหรี่ แสงอุลตร้าไวโอเลต ที่เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดโรคต้อกระจก
วิตามินอีช่วยต้านอนุมูลอิสระที่เกิดจากกระบวนการสันดาปไขมัน และสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่และรังสียูวี ช่วยชะลอการเสื่อมของดวงตา
การเลือกซื้อวิตามินสำหรับดวงตา
- ต้องแน่ใจว่ามีส่วนผสมหลักที่:
ช่วยชะลอความเสื่อม ของเลนส์รับภาพและจอประสาทตา
ลดอาการตาล้าจากการใช้สายตาเป็นเวลานาน
ลดความเสี่ยงการเป็นโรคจอตาเสื่อม และต้อกระจก
- ต้องมีเทคโนโลยีของการผลิตแค๊ปซูลที่ดีเพื่อให้แน่ใจได้ว่าวิตามินจะสามารถคงคุณค่าและป้องกันการเสื่อมสภาพของสารสกัดได้อย่างสมบรูณ์
- ควรมีผลวิจัยที่น่าเชื่อถือได้รองรับ
- ต้องให้แน่ใจว่ามีมาตรฐานการผลิตได้มาตรฐานระดับโลกเป็นที่น่าเชื่อถือได้ เช่นสหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรือ ญี่ปุ่น เป็นต้น
- ควรศึกษาสูตรที่ได้รับการยอมรับและอนุมัติจากประเทศที่เชื่อถือได้ เช่นสหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรือ ญี่ปุ่น เป็นต้น